วัดอัมพวา (กรุงเทพมหานคร)
วัดอัมพวา (กรุงเทพมหานคร)

วัดอัมพวา (กรุงเทพมหานคร)

วัดอัมพวา ตั้งอยู่เลขที่ 109 ถนนอิสรภาพ 37 และถนนจรัญสนิทวงศ์ 22 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ 8 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับซอยวัดอัมพวา ทิศใต้ติดกับที่เอกชน ทิศตะวันออกติดกับกองรถยนต์ กองช่าง ขส.ทร. ทิศตะวันตกติดกับอาคารบ้านเรือนราษฎรและโรงเรียนวัดอัมพวาวัดอัมพวา สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2211 ในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่เดิมบริเวณนี้เป็นพื้นที่สวน วัดตั้งอยู่ทิศตะวันตกวังสวนอนันต์ กรมการขนส่งทหารเรือวัดอัมพวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ. 2216 (กรมการศาสนา,2526 358-359) ใบเสมารัชกาลที่ 1 เป็นเสมาคู่ หรืออาจจะเป็นใบเสมาสมัยกษัตริย์รัชกาลสุดท้ายของอยุธยาก็ได้ สองสมัยนี้ ใบเสมาแบบอย่างเหมือนกัน ใบเสมาแบบอย่างเหมือนกัน ใบเสมาทำซุ้มเป็นกูบช้าง ด้านหลังอุโบสถมีเจดีย์ทรงกลมใหญ่ เป็นแบบรัชกาลที่ 4 แสดงว่า ต้องมาปฏิสังขรณ์ใหญ่สมัยรัชกาลที่ 4 (น.ณ.ปากน้ำ)ทั้งอุโบสถ และเจดีย์ใหญ่หนึ่งเจดีย์ และเจดีย์เล็กสองเจดีย์ เป็นปูชนียสถานเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างตอนปลายสมัยอยุธยา มีปูชนียวัตถุ พระประธาน หน้าตัก กว้าง 4 ศอก พระพักตร์ มีลักษณะประติมากรรมแบบอู่ทอง พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยสัมฤทธิ์ 4 องค์ ปัจจุบันเหลือ 3 องค์ ภาพเขียนที่บานประตูหน้าต่างหลังอุโบสถสมัยโบราณ (ปัจจุบันไม่พบ) มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทั้งภายในอุโบสถ และภายในวิหารหลวงปู่นาคจากแนวคิดที่ศึกษามีความเชื่อสนับสนุนตามแนวคิดของ น.ณ. ปากน้ำ และกรมการศาสนา วัดอัมพวา น่าจะสร้างในสมัยอยุธยาช่วงเจริญรุ่งเรือง ดังตัวอย่างที่กล่าว ในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช (2085) โปรดให้ขุดคลองแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ เพื่อสะดวกในการค้าขายในบริเวณดินแดนแถบนี้ประชาชนมาอาศัยจำนวนหนาแน่นที่สุด เริ่มเป็นเมืองด้านการค้าขายที่สำคัญ วัดอัมพวา อาจจะเริ่มก่อตัวในสมัยนั้นก็ได้ (กรองแก้ว บูรณะกิจ และสว่าง ขวัญบุญ ; 75)พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่สัญจรไปมาสะดวกสบาย มีซอยต่อเชื่อมระหว่างถนนอิสรภาพ ซอย 37 กับถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอย 22 การคมนาคมสะดวก อาคารเสนาสนะ มีอุโบสถกว้าง 8 เมตร ยาว 26 เมตร ก่ออิฐถือปูน เจดีย์ทรงระฆังคว่ำด้านหลังอุโบสถ 1 ปาง มีวิหารหลวงปู่นาค กว้าง 7เมตร ยาว 14.30 เมตร อาคารคอนกรีต วิหารหลวงปู่แป้น กว้าง 7 เมตร ยาว 14 เมตร ก่ออิฐถือปูนวิหารสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) ก่ออิฐถือปูน กุฏิสงฆ์ขนาดสงฆ์ขนาดเล็ก 4 ห้อง จำนวน 2 หลัง กุฏิสงฆ์ขนาดใหญ่สองชั้น 12 ห้อง จำนวน 1 หลัง กุฏิสงฆ์ขนาดเล็กสองชั้น 6 ห้อง จำนวน 1 หลัง ศาลาการเปรียญกว้าง 14 เมตร ยาว 36 เมตร 1 หลัง อาคารคอนกรีต หอระฆัง 1 หลัง เมรุ 1 หลัง ศาลาการบำเพ็ญกุศล 2 หลังด้านการศึกษา ทางวัดสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรมจากสำนักเรียนต่างๆ ได้ตามอัธยาศัย และเป็นประเพณีปฏิบัติมาช้านาน นอกจากนั้นยังให้ทางราชการสร้างโรงเรียนขึ้นในวัดเป็นการสนับสนุนการศึกษาของชาติอีกด้วยปัจจุบันมีพระภิกษุสามเณรศึกษาเล่าเรียนจำนวนมากตั้งแต่ระดับปริยัติธรรมแผนธรรม นักธรรมตรี โท – เอก และบาลี ตั้งแต่ประโยค 1-2 เป็นต้นไป

ใกล้เคียง

วัดอัมพวา วัดอัมพวา (กรุงเทพมหานคร) วัดอัมพวัน (จังหวัดสิงห์บุรี) วัดอัมพวันเจติยาราม วัดอัมพวัน (จังหวัดลพบุรี) วัดอัมพวัน (จังหวัดนครนายก) วัดอัมพวัน (กรุงเทพมหานคร) วัดอัมพวัน (จังหวัดนนทบุรี) วัดอัมพวัน (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) วัดอัมพวัน